วิถีใหม่ สำหรับนักกีฬายุคโควิด-19

ในช่วงของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาหรือ โควิด-19 วงการกีฬาก็เป็นอีกสาขาอาชีพหนึ่งที่ได้รับผลกระทบและไม่รู้ว่าจะได้กลับไปสู่บรรยากาศของความสนุกสนานในการถ่ายทอดสดการแข่งขันได้เหมือนเดิมอีกเมื่อไร แต่ที่แน่ ๆ คือการนำแนวทางการปฏิบัติแบบ New Normal หรือความปกติวิถีใหม่มาปรับใช้เพื่อสร้างหลักประกันความปลอดภัยให้กับนักกีฬาและบรรดาแฟน ๆ ที่มาเข้าชมการแข่งขันหรือถ่ายทอดสดในสนามและพื้นที่จัดกิจกรรมอย่างเช่นที่ผ่านมา ซึ่งทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนภายในประเทศไทยได้มีการเคลื่อนไหวจัดกิจกรรมอบรมเสวนา และหารือทางออกให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งพอจะสรุปแนวโน้มความน่าจะเป็นในการปฏิบัติวิถีใหม่ของนักกีฬาไทยในยุคโควิด เป็น 3 แนวทางดังนี้

  1. ระยะห่างของผู้คน ในกิจกรรมการแข่งขันวิ่งหรือปั่นจักรยานแต่ละครั้ง ทั้งผู้จัดและนักกีฬา ต้องคำนึงถึงความหนาแน่นของจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับขนาดของพื้นที่จัดกิจกรรม และหากตรวจสอบพบผู้มีความเสี่ยง เช่น อุณภูมิร่างกายสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด หรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ก็ให้สิทธิ์นักกีฬายกเลิกกิจกรรมนั้นได้ทันที
  2. ตรวจร่างกายและประกันความเสี่ยง นักกีฬาควรได้รับการตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ มีการทำประกันภัยโควิดและอุบัติเหตุเอาไว้ เมื่อเข้าสู่พื้นที่จัดกิจกรรมต้องแสดงใบรับรองแพทย์ พร้อมทั้งใส่หน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐานเหมาะสมสำหรับการเล่นกีฬาประเภทนั้น ๆ ตามที่เจ้าของกิจกรรมจัดเตรียมไว้ ควรรักษาความสะอาดด้วยการล้างมือหรืออาบน้ำในบริเวณที่จัดไว้ให้ และไม่เดินทางไปในที่ชุมชนหนาแน่นหรือสถานที่ที่มีความเสี่ยง ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
  3. คัดกรองผู้เข้าร่วมงาน ปฏิบัติตามข้อกำหนดของสถานที่และจุดคัดกรองอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งลงทะเบียนเข้า-ออก ทางเว็บไซต์หรือแอปไทยชนะ และในอนาคตอาจมีการนำแอปพลิเคชันในการส่งเสียงเชียร์ และแนะนำการฝึกซ้อมฯลฯ มาใช้เหมือนในต่างประเทศ เป็นต้น

บางประเทศได้ผ่อนปรนให้มีการแข่งขันโดยรักษาความปลอดภัยของนักกีฬาอย่างเคร่งครัด เช่น กีฬาฟุตบอล มีการตรวจคัดกรองและทำความสะอาดพื้นที่ส่วนตัวของนักกีฬาอย่างเข้มงวด และใช้ภาพ CG แฟนฟุตบอลในสนาม และเทคนิคซาวด์เอฟเฟ็คเสียงเชียร์ประกอบการแข่งขัน เพื่อให้ดูสมจริงเมื่อถูกนำเสนอเป็นข่าวในสถานีโทรทัศน์และรายการวิทยุ โดยสถานีโทรทัศน์ที่นำวิธีนี้มาใช้ได้แก่ Fox สถานีโทรทัศน์กีฬาชื่อดังระดับโลก รวมถึงในเยอรมนีได้มีการพัฒนาแอปพลิเคชันที่เรียกว่า myApplause มาให้แฟนฟุตบอลได้ใช้ในขณะเชียร์ฟุตบอลแทนการตะโกนและส่งเสียงจริง โดยเริ่มทดลองใช้ในการแข่งขันฟุตบอลบุนเดสลีกาครั้งที่ผ่านมา โดยแฟนฟุตบอลสามารถเลือกการส่งเสียงเชียร์, ปรบมือ, ร้องเพลง หรือเป่าปาก หรือโห่ร้อง ได้ในขณะช่วงอารมณ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบหน้ากากสำหรับนักกีฬาฟุตบอลในพรีเมียร์ลีก ชื่อว่า Altitude Mask N9 ซึ่งทำมาจากซิลิโคน มีพิลเตอร์กรองอากาศที่สามารถป้องกันเชื้อโรคได้ พร้อมวาล์วปิดเปิดได้ 6 ระดับ ช่วยให้นักกีฬาหายใจได้สะดวกมากยิ่งขึ้นทั้งในขณะฝึกซ้อมและแข่งขัน

เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่หลายฝ่ายพร้อมใจกันก้าวข้ามพรมแดนอุปสรรคครั้งนี้ไปด้วยกัน ด้วยการคิดค้นและพัฒนาเครื่องมือในการใช้งาน ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดนี้ จึงเชื่อมั่นว่าเมื่อการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 ผ่านไป วงการกีฬาก็จะได้ยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยเพิ่มขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง ซึ่งนับเป็นชีวิตวิถีใหม่สำหรับนักกีฬาในยุคโควิด-19 อย่างแท้จริง

ไวรัสโควิด-19 ระบาดทำให้ต้องเลื่อนการแข่งขันกีฬาอะไรบ้าง

การแข่งขันกีฬาเป็นสิ่งที่ต้องมีการวางแผนล่วงหน้า โดยเฉพาะกีฬาระดับโลกหรือนานาชาติ ที่ 2 ถึง 4 ปีจัดครั้งหนึ่ง ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่ต้องเลื่อนไป จากโควิด-19 ระบาด

แต่ก็เป็นความจำเป็น ที่จะต้องควบคุมสถานการณ์ของโรคในทุกภูมิภาคทั่วโลกให้ดียิ่งขึ้น เพราะหากมีการจัดแข่งขัน อาจทำให้มีการสูญเสียงบประมาณทางด้านสาธารณสุขในการรักษาผู้ป่วยและเพิ่มจำนวนผู้เสียชีวิตมากขึ้นได้

เรามาดูกันว่าการแข่งขันกีฬาใดบ้าง ที่ต้องถูกเลื่อนไปจากปัญหาโรคโควิด-19

1. Chinese Grand Pix และ Thailand Grand Pix
Chinese Grand Pix เป็นการแข่งขันรถระดับเซียน สูตรหนึ่งหรือฟอร์มูล่าวัน ที่ชิงแชมป์ระดับโลก เดิมมีกำหนดที่จัดแข่งขันในช่วงสงกรานต์ หรือ 17-19 เมษายน 2020 ในประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศแรก ที่มีการระบาดของเชื้อนี้ ส่วนการแข่งขัน Thailand Grand Pix สนามในไทย ที่ต้องจัดช่วงต้นปี ก็ถูกเลื่อนไปเช่นกัน

2. World Athletics Indoor championship
เป็นการแข่งขันกรีฑาระดับโลก ซึ่งมีนักกีฬาต้องเข้าร่วมจำนวนมาก เดิมทีจะจัดในช่วงกลางเดือนมีนาคม ปี 2020 โดยเป็นครั้งที่ 18 ของโลก ที่เมืองหนานจิง ประเทศจีน แต่เมื่อสถานการณ์โรคนี้ยังควบคุมไม่ได้ดี ก็จำเป็นต้องเลื่อนออกไปถึงต้นปี 2021 เลยทีเดียว

3. กีฬาโอลิมปิก
เดิมทีมีการกำหนดการแข่งขันโอลิมปิกในปี 2020ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ 4 ปีที่แล้ว ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม รวมถึงการจัดการแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์ ปลายเดือนสิงหาคมถึงกันยายนด้วย
แต่การที่นักกีฬาจากหลายสิบประเทศทั่วโลกจะมารวมตัวกันในที่จำกัด ก็เท่ากับความเสี่ยงที่จะติดเชื้อและแพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างง่ายดาย จึงเกิดการประชุมครั้งใหญ่ และสรุปได้ว่าต้องเลื่อนการแข่งขันโอลิมปิกออกไปก่อน

4. การแข่งขันฟุตบอล กัลโชเซเรียอา
เป็นการแข่งฟุตบอลลีกสูง ที่ได้รับความนิยมจากผู้ชมทั่วโลก จำเป็นต้องเลื่อนการแข่งขันออกไปหลายคู่ และต้องมีบางคู่ที่ผู้ชมไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าชมในสนาม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อแพร่กระจายระหว่างนักกีฬาและผู้ชมด้วย

5. ลีค ออฟ ลีเจนท์ โปรลีค
เป็นการแข่งขันกีฬาอีสปอร์ตที่กำลังได้รับความนิยมมากและมีมูลค่าทางการตลาดสูง โดยเจ้าภาพผู้จัดงาน คือ บริษัท เท็นเซนต์ โฮลดิ้ง ประเทศจีน ได้แจ้งเลื่อนการแข่งขันออกไปอย่างไม่มีกำหนด จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ทำให้ได้รับผลกระทบทางด้านธุรกิจอย่างมาก

จะเห็นได้ว่า การติดเชื้อโควิด-19 ที่ระบาดไปทั่วโลกในขณะนี้ ส่งผลกระทบมากทั้งด้านเศรษฐกิจ วงการบันเทิง การศึกษา รวมถึงในแวดวงกีฬาด้วย

เราหวังว่าทุกคนจะปฏิบัติตามแนวทางที่รัฐบาลกำหนด เป็นการให้ความร่วมมือในการควบคุมเชื้อโควิด-19 ให้ดียิ่งขึ้น และทำให้สถานการณ์กลับมาสู่ภาวะปกติโดยเร็ว เพื่อให้จัดกีฬาได้ตามปกติต่อไป

เลื่อนการแข่งขัน